เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

๓ มิถุนายน ๒๕๖๗

ทรงพระเจริญ

ร่วมลงนามถวายพระพร

เข้าสู่เว็บไซต์วิทยาลัยชุมชนตราด

บันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือ ระหว่าง วิทยาลัยชุมชนตราด และ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 33 ตราด

08 ส.ค. 2567   56 ครั้ง  

8 สิงหาคม 2567 วิทยาลัยชุมชนตราดตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด นางกรรณิกา สุภาภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราดร่วมบันทึกข้อตกลง(MOU)กับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๓๓ ตราด ตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด โดย นางสาวพร้อมมงคล วงศ์บุญฟู ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๓๓ ตราดพร้อมคณะครู อาจารย์ วิทยาลัยชุมชนตราดเข้าร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้

วัตถุประสงค์ความร่วมมือวิทยาลัยและสถาบันมีความประสงค์ที่จะมีความร่วมมือในการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการและ การพัฒนาฝีมือแรงงาน (Integrated Education and Skill Development) เพื่อให้ครอบคลุมการจัดการศึกษา และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดตราด สามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากกิจกรรมที่ทางวิทยาลัยและสถาบันจัดขึ้น ตามระเบียบสถาบันวิทยาลัยชุมชน ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาของวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๕ ด้านหลัก ได้แก่ด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ของวิทยาลัยชุมชน ด้านการจัดการศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรสถาบันวิทยาลัยชุมชน ประกาศนียบัตรวิทยาลัย ชุมชน สัมฤทธิบัตรและหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและคุณภาพชีวิตของวิทยาลัยชุมชน ด้านการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและ ด้านการประเมินรับรองความรู้ความสามารถ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

วิทยาลัยและสถาบันมีความประสงค์เชื่อมโยงหลักสูตรการศึกษาทุกหลักสูตรเข้ากับหลักสูตร การฝึกอบรม หรือสาขาการทศสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นไป ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ จำนวน ๗ สาขาอาชีพ ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน (ช่างซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางรางสาขาอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สาขาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์แสาขาอาชีพอาหารและเกษตรสาขาอาชีพปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงาน และพลังงานทดแทนและ สาขาอาชีพแม่พิมพ์ โดยนำร่องในสาขาอาชีพช่างแม่พิมพ์ซึ่งทั้ง ๒ วัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นเป็นกลไกเชื่อมโยง การเติมเต็ม เพื่อเทียบเคียง และสามารถใช้เทียบ โอนระหว่างคุณวุฒิการศึกษากับขาตรฐานอาชีพ ที่กรอบคุณวุฒิแห่งชาติกำหนด ทั้งในด้านการทดสอบ การวัดและ ประเมินผล การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย การเทียบโอนประสบการณ์ จากการทำงาน การฝึกฝนและปฏิบัติจริงจากการทํางาน และการสะสมหน่วยการเรียน (Credit Bank) เพื่อสนับสนุนการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต