เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

๓ มิถุนายน ๒๕๖๗

ทรงพระเจริญ

ร่วมลงนามถวายพระพร

เข้าสู่เว็บไซต์วิทยาลัยชุมชนตราด

กิจกรรมลงพื้นที่ภาคสนามทำกิจกรรมศึกษาศักยภาพและความต้องการในการพัฒนาผ้าทอใยสับปะรด

02 ก.ย. 2566   265 ครั้ง  

วันที่ 2 กันยายน 2566 วิทยาลัยชุมชนตราด นำโดย อาจารย์ภูริณัฐร์ โชติวรรณ และอาจารย์อภิรัฐ มาลีแก้ว พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ 1/2564 จำนวน 8 คน ในรายวิชาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นและรายวิชาการเมืองภาคพลเมือง ลงพื้นที่ภาคสนามทำกิจกรรมศึกษาศักยภาพและความต้องการในการพัฒนาผ้าทอใยสับปะรด โดยอาศัยข้อมูลของแผนปฏิบัติการที่ได้จากการกำหนดวิสัยทัศน์ การวิเคราะห์และสร้างยุทธศาสตร์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านธรรมชาติล่าง และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ที่ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงชุมชน ภายใต้ “โครงการผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงชุมชน” กับทางวิทยาลัยชุมชนตราด เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา จากการสำรวจพบว่าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบางปิดมีความต้องการพัฒนาใน 3 เรื่อง คือ

(1) การพัฒนาศักยภาพการผลิตเส้นด้ายใยสับปะรดตราดสีทองของสมาชิกในกลุ่มให้มีความชำนาญในการผลิตเส้นด้ายใยสับปะรดเพื่อนำมาใช้เป็นเส้นใยทางเลือกในการทอผ้าของกลุ่ม

(2) การพัฒนาทักษะด้านการออกแบบและตัดเย็บผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยสับปะรดตราดสีทอง ให้มีความทันสมัยและมีความหลากหลายชนิดเป็นที่ต้องการของกลุ่มผู้บริโภค โดยทางกลุ่มมีสมาชิกบางคนที่ไม่ชอบ/ไม่ถนัด หรือไม่สะดวกที่จะมาทอผ้าที่กลุ่ม แต่มีทักษะพื้นฐานในการตัดเย็บก็สามารถนำผ้าทอใยสับปะรดไปต่อยอดสร้างรายได้ให้ตนเองได้

(3) การพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการทอผ้าเมืองตราด และเปิดให้คณะศึกษาดูงานทั้งในและต่างจังหวัดเข้ามาเยี่ยมชมและทำกิจกรรมของกลุ่ม เช่น การผลิตเส้นใยสับปะรด การเข็นเส้นด้ายใยสับปะรด การย้อมสีเส้นด้ายจากวัสดุธรรมชาติ การทอผ้าด้วยกี่ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ ชุมชนบ้านบางปิดยังมี “ข้าวเบา” ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นถิ่นที่มีในชุมชน สามารถนำมาสร้างเป็นเรื่องราว ความรู้ และเสิร์ฟให้คณะผู้มาศึกษาดูงานรับประทานในมื้ออาหารได้

วิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านธรรมชาติล่าง มีความต้องการพัฒนา 1 เรื่อง คือ การพัฒนาทักษะในการออกแบบและตัดเย็บผลิตภัณฑ์จากผ้าทอใยสับปะรด โดยในกลุ่มมีสมาชิกที่มีทักษะในการตัดเย็บอยู่แล้ว

สิ่งที่ชุมชนยังขาด/ต้องการการสนับสนุน คือ (1) วัสดุ/อุปกรณ์ในการผลิตเส้นด้ายใยสับปะรด เช่น เครื่องตีเส้นใยสับปะรด อุปกรณ์อิ้วฝ้าย ไนเข็นด้าย ไม้เปียเส้นด้าย เครื่องจักรเย็บผ้า เป็นต้น (2) ผู้รู้/ผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรที่จะมาอบรมให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว

ซึ่งกระบวนการต่อจากนี้ ทางวิทยาลัยชุมชนตราดจะนำข้อมูลจากการศึกษา/สำรวจความต้องการไปพัฒนาเป็นหัวข้อโครงการในปีงบประมาณ 2567 ที่จะทำร่วมกับชุมชนในการพัฒนากลุ่มทอผ้าทั้ง 2 แห่งต่อไป