เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

๓ มิถุนายน ๒๕๖๗

ทรงพระเจริญ

ร่วมลงนามถวายพระพร

เข้าสู่เว็บไซต์วิทยาลัยชุมชนตราด

โครงการประชุมเชิงปฎิบัติการ “ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส ผลิตภัณฑ์ หม้อแกงโบราณ และหมูต้มชะมวง”

26 ก.ค. 2566   247 ครั้ง  

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 คณะทำงานโครงการการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นำโดย นางสาวอำพร ไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด จัดกิจกรรมโครงการประชุมเชิงปฎิบัติการ “ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส ผลิตภัณฑ์ หม้อแกงโบราณ และหมูต้มชะมวง” ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน และบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน จำนวน 10 คน โดยมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประเมินผลิตภัณฑ์ และวิธีการประเมินผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้กระบวนการทดสอบประสาทสัมผัสใช้แบบประเมินความชอบแบบ 9 Point – hedonic scale ระดับการยอมรับ ดังนี้ 1 = ไม่ชอบมากที่สุด 2 = ไม่ชอบมาก 3 = ไม่ชอบปานกลาง 4 = ไม่ชอบเล็กน้อย 5 = บอกไม่ได้ว่าชอบหรือไม่ชอบ 6 = ชอบเล็กน้อย 7 = ชอบปานกลาง 8 = ชอบมาก 9 = ชอบมากที่สุด

คุณลักษณะที่ประเมินหมูต้มชะมวง ได้แก่ ลักษณะทั่วไปที่ปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความนุ่มของเนื้อหมู คุณลักษณะที่ประเมินหม้อแกงโบราณ ได้แก่ ลักษณะทั่วไปที่ปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม

มีคณะทำงานประจำกลุ่ม เพื่อให้กระบวนการทำแบบประเมินความชอบ 9 Point – hedonic scale มีความถูกต้องตามความเป็นจริง ได้แก่

กลุ่มที่ 1 อาจารย์วรรณรัตน์ ศิริภูธร

กลุ่มที่ 2 อาจารย์หยาดรุ้ง สุทธิวารี

กลุ่มที่ 3 อาจารย์ชุติมา ภู่มณี

กลุ่มที่ 4 อาจารย์ศิริรักษ์ วรรณรัตน์ และอาจารย์วรรณา การเจริญดี

ทั้งนี้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ผู้บริหาร และบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน เข้าร่วมกิจกรรมประเมินในครั้งนี้ด้วย