เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
๓ มิถุนายน ๒๕๖๗
ทรงพระเจริญ
วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 คณะทำงานโครงการคลินิคเทคโนโลยี โดยมี นางสาวกรกนก ปานพันธ์ ผู้จัดการโครงการฯ นายภูริณัฐร์ โชติวรรณ นายนราวุฒิ พัฒโนทัย นางสาวศันสนีย์ โชคดีวัฒนา และนางสาวดวงรัตน์ ถนอมพวก ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุผลไม้จากวัสดุธรรมชาติ ภายใต้แผนบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยชุมชนตราด โดยมีที่มาจากการ นายมานิตย์ ชิงชัย ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลประณีต ขอรับเข้าบริการปรึกษากับโครงการคลินิกเทคโนโลยี เกี่ยวกับการใช้เชือกกล้วยเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่ทุเรียนประจำตำบลประณีต ในกิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้น ณ โรงเรียนประณีตวิทยาคม หมู่ 2 บ้านตลุง ตำบลประณีต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด โดยกิจกรรมประกอบด้วย กล่าวทักทายแนะนำที่มาของโครงการ โดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยชุมชนตราด การพูดคุยเกี่ยวกับบริบทชุมชน โดย นายภูริณัฐร์ โชติวรรณ แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลผลิตทางการเกษตร โดย นางสาวดวงรัตน์ ถนอมพวก บรรยาย เรื่อง ฐานทรัพยากรในชุมชนในด้านการจักสานและผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ บ้านน้ำเชี่ยว และภาคปฏิบัติการใช้วัสดุธรรมชาติ (เชือกกล้วย) และการออกแบบขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์สำหรับผลผลิตทางการเกษตรโดย วิทยากรกระบวนการ นายเอนก โสมานันท์ และนายสำราญ ชัยเชียงเอม ภูมิปัญญาด้านการถักอวน จากวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
จากกิจกรรมในภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ พบว่า ประชาชนและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนใจในการถักเชือกกล้วยเพื่อเป็นถุงเชือกตาข่ายสำหรับใส่ทุเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ทุเรียนตำบลประณีตและเพื่อต้องการลดการใช้พลาสติก หลังจากได้มีพื้นฐานการถักถุงเชือกกล้วยแล้ว ทางชุมชนได้ช่วยกันออกแบบถุงเชือกในลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งหูหิ้วในลักษณะ 1 หู และ 2 หู การเก็บเส้นเชือกให้เรียบร้อย และได้พูดคุยสอบถามการใช้เชือกกล้วยในอนาคต โดยวางแผนการใช้ถุงเชือกกล้วยดังนี้ 1) ทดลองใช้ถุงเชือกกล้วยในตลาดนัดท้องถิ่น 2) การประยุกต์ถักเปลทุเรียน ในช่วงฤดูกาลโยงลูกทุเรียน ประมาณเดือนมกราคม 3) การถักถุงเชือกกล้วยสำหรับผลทุเรียนที่พร้อมจำหน่าย ประมาณเดือนมีนาคม
นอกจากนี้ ได้สอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถุงเชือกกล้วยที่ต้องการจากชุมชน คือ ทดลองการย้อมสีเชือกกล้วย การเก็บรักษาเชือกกล้วยไม่ให้เกิดเชื้อรา