เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

๓ มิถุนายน ๒๕๖๗

ทรงพระเจริญ

ร่วมลงนามถวายพระพร

เข้าสู่เว็บไซต์วิทยาลัยชุมชนตราด

โครงการสัมมนา เรื่อง “วิทยาลัยชุมชน สถาบันอุดมศึกษา สร้างโอกาสแก่ชุมชน”

25 ม.ค. 2566   310 ครั้ง  

ในวันที่ 25 มกราคม 2566 วิทยาลัยชุมชนตราด นำโดย ดร.กรรณิกา สุภาภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด พร้อมด้วย นางสาวอำพร ไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด ดร.สุดารัตน์ ตัณฑะอาริยะ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด และนายพชร แก้วดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่อง “วิทยาลัยชุมชน สถาบันอุดมศึกษา สร้างโอกาสแก่ชุมชน” พร้อมทั้งร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงาน “ผลิตภัณฑ์ชุมชน” โดยมี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดสัมมนา เรื่อง “วิทยาลัยชุมชน สถาบันอุดมศึกษา สร้างโอกาสแก่ชุมชน” โดยมี ดร.ลัทธจิตร มีรักษ์ ผู้ช่วย รมว.อว. นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษา รมว.อว. ดร.สิริกร มณีรินทร์ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน (วชช.) และผู้บริหาร วชช. ทั่วประเทศเข้าร่วม ณ ห้องแถลงข่าว อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวว่า สถาบันวิทยาลัยชุมชน หรือ วชช.เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ตอบโจทย์นโยบายสำคัญ ๆ ของกระทรวง อว. โดยเฉพาะการสร้างโอกาสให้คนยากไร้ คนชายขอบ เพราะมีการจัดการศึกษาและหลักสูตรในภาพรวมที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ทันทีหรือนำไปต่อยอดเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ วชช.จึงเป็นสถาบันที่เปิดโอกาสให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และทำให้คน 10% ที่มีฐานะยากจนในระดับล่างสุด รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้ได้รับการศึกษา เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ยากไร้ที่สุด ด้วยมีหลักคิดคือ การเป็นสถาบันการศึกษาที่ช่วยคนด้อยโอกาส ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นหลักคิดที่เป็นหนึ่งในเป้าประสงค์ของการจัดการและปฏิรูปอุดมศึกษา ที่มีการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ มีการนำเอาคนคนเก่ง มีความรู้จริง มีความสามารถมาสอน โดยไม่จำเป็นต้องมีวุฒิหรือมีปริญญาหรือตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งนับเป็นการยกย่องภูมิปัญญาท้องถิ่น เชิดชูผู้ปฏิบัติงานได้จริง และแสดงให้เห็นว่าความรู้เกิดนอกมหาวิทยาลัยได้ เกิดจากการทำงานและจากชุมชน ทำให้ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยต้องไปเรียนรู้จาก วชช. ในเรื่องนี้ เรียกได้ว่า เป็นการกลับขั้วครั้งใหญ่ของการอุดมศึกษา โดยมี วชช.เป็นหน่วยนำด้านการจัดการศึกษาเพื่อกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างแท้จริง

“วชช. จะเป็นธงนำของการอุดมศึกษาไทยในการสร้างโอกาสให้ชุมชน มุ่งผลิตหลักสูตรที่ตอบโจทย์ชุมชนและคนในพื้นที่ โดยร่วมทำงานกับ “ธัชภูมิ” ที่ อว.เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อสังเคราะห์ความรู้ในเชิงพื้นที่และให้ทุนวิจัยเรื่องชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของ วชช. ต่อไปในอนาคต” รมว.อว.กล่าว

ด้าน ดร.สิริกร มณีรินทร์ กล่าวว่า วชช. มีหลักสูตรที่ตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพในแต่ละพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค หลักสูตรมีความหลากหลาย เช่น หลักสูตรอนุปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตร หลักสูตร ปวส. หลักสูตร ปวช. มีผู้เรียนจำนวน 16,774 คน และหลักสูตรฝึกอบรม โดยเฉพาะหลักสูตร Non degree มีผู้เรียนจำนวน 61,234 คน และยังมีแนวโน้มของผู้เรียนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับในทุกหลักสูตร โดยสามารถแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้ที่มีฐานะยากจน 10% ล่าง ชนกลุ่มชาติพันธุ์ ให้เข้าถึงการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ ด้วยทุนการศึกษาจากแหล่งทุนกว่า 939 ทุน นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจน ใน 4 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ชัยนาท มุกดาหาร และยโสธร โดยใช้กระบวนการค้นหาคนจน จัดทำโมเดลแก้จน การยกระดับรายได้ บรรจุโมเดลแก้จนในแผนพัฒนาจังหวัด และส่งต่อนักศึกษาเข้าโครงการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) รวมถึงสืบสานงานศิลป์ “ช่างศิลป์ท้องถิ่น” ใน 14 วิทยาลัยชุมชน เพื่อผลักดันให้ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ