ระหว่างวันที่ 21 – 22 กรกฎาคม 2565 ดร.กรรณิกา สุภาภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การระดมสมองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหารสถาบันวิทยาลัยชุมชน ณ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถาบันฯ ที่ปรึกษาสถาบัน ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชน และบุคลากรสำนักงานสถาบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ร่วมลงพื้นที่เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนรู้ /ให้ข้อเสนอแนะ โดยได้รับเกียรติจากกรรมการสภาสถาบัน คุณพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ และคุณอภิชัย ล้ำเลิศพงศ์พนา
1. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลหนองนกไข่ เพื่อศึกษาวิธีการสร้างผู้ประกอบการกล้วยไม้ และเพื่อศึกษาการยกระดับผลิตภัณฑ์ เพื่อคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยของข้าวแต๋น
2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
3. โรงงานผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น coco 1
4. การประชุมผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชน
วันที่ 22 กรกฎาคม 2565
1. การอภิปราย ระดมความคิดเห็นของผู้บริหารสถาบันวิทยาลัยชุมชนเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจสถาบันวิทยาลัยชุมชนไปสู่เป้าหมาย โดยมี
- ผู้อำนวยการสถาบัน เรื่อง “การหาเงินรายได้เข้าสถาบันวิทยาลัยชุมชน”
- ผศ.วีระชาติ มัตติทานนท์ เรื่อง “Digital Community Colleges”
- ผู้อำนวยการสำนักงานสถาบันวิทยาลัยชุมชน
2. การระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้บริหาร โดยกำหนดตามกลุ่มตามพันธกิจของสถาบันวิทยาลัยชุมชน
- กลุ่มการจัดการศึกษา ประกอบด้วย วิทยาลัยชุมชนยะลา นราธิวาส แพร่ หนองบัวลำภู ตาก ปัตตานี และระนอง ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ และปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ (จากการดำเนินงานที่ผ่านมา) ในประเด็นการจัดหลักสูตรอนุปริญญา 60 หน่วยกิต กลยุทธ์ และ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้พลาดโอกาส ขาดโอกาส โดยให้กำหนดกลยุทธ์ ปัจจัยความสำเร็จ และปัญหา/อุปสรรค
- กลุ่มบริการวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย วิทยาลัยชุมชนตราด แม่ฮ่องสอน สตูล อุทัยธานี สระแก้ว มุกดาหาร และสำนักงานสถาบัน ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ และปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ (จากการดำเนินงานที่ผ่านมา) ในประเด็นการเพิ่มเป้าหมายการจัดหลักสูตรบริการวิชาการ Upskill Reskill Newskill โดยให้กำหนดกลยุทธ์ ปัจจัยความสำเร็จ และปัญหา/อุปสรรค
- กลุ่มทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และวิจัย ประกอบด้วย วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ สงขลา สมุทรสาคร พังงา พิจิตร ยโสธร และน่าน ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ และปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ (จากการดำเนินงานที่ผ่านมา) ในประเด็นการยกระดับหลักสูตร/ผลิตภัณฑ์ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการเข้าถึงแหล่งทุน โดยให้กำหนดกลยุทธ์ ปัจจัยความสำเร็จ และปัญหา เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายให้เป็นไปตามแผนพัฒนาความเป็นเลิศ (พ.ศ.2566 - 2570)