เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖

ทรงพระเจริญ

ร่วมลงนามถวายพระพร

เข้าสู่เว็บไซต์วิทยาลัยชุมชนตราด

“โครงการการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นฐานแบบมีส่วนร่วม” โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานยังอยู่ภายใต้ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Theory)

04 มี.ค. 2565   456 ครั้ง  

ในวันที่ 4 มีนาคม 2565 วิทยาลัยชุมชนตราด โดย ดร.สุดารัตน์ ตัณฑะอาริยะ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนตราด และนายพชร แก้วดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลงพื้นที่จัดทำ “โครงการการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นฐานแบบมีส่วนร่วม” โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานยังอยู่ภายใต้ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Theory) ผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ (Concrete Experience : CE) การสะท้อนการเรียนรู้/ทบทวนการเรียนรู้ (Reflective Observation : RO) การสรุปองค์ความรู้ (Abstract Conceptualization : AC) และการประยุกต์ใช้ความรู้ (Active Experimentation : AE) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่

1. จัดกิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาจากแหล่งเรียนรู้สู่ผู้เรียน
2. รวบรวมภูมิปัญญาจากแหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่
3. คืนข้อมูลองค์ความรู้แก่ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้าน ตาหนึก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

โดยได้สาธิตภูมิปัญญาการทำน้ำเคยข้าวยำและน้ำเคยหวาน ให้กับนักศึกษาสาขาเกษตรและการแปรรูป รุ่น 1/63 จำนวน 26 คน ที่ได้เรียนในรายวิชา การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งนี้เป็นการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ด้าน เพื่อการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ต่อไป